ประวัติคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ บิดาการเกษตรแม่โจ้
17/09/2564 , อ่าน 96 ครั้ง

พระช่วงเกษตรศิลปการ ได้ชื่อว่าเป็น ใน เสือวงการเกษตรของประเทศไทย และเป็น ใน ของบูรพาจารย์ที่ร่วมกันก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และหลวงอิงคศรีกสิการ จนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรของไทยให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ และเจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน

พระช่วงเกษตรศิลปการ เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2442 ที่บ้านแช่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมชื่อ ช่วง โลจายะ เป็นบุตรของ ร.อ. หลวงศรีพลแผ้ว ร.น. ( ขาว โลจายะ) เริ่มต้นการศึกษาระดับชั้นปฐม ก. กา ที่วัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จนจบชั้นประถมปีที่ จึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์ ( ม.1 - ม. 3 ) หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบจนจบมัธยม ( พ.ศ. 2459) และเมื่อศึกษาจบแล้วได้สมัครเป็นครูสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ

หลังจากเป็นครูได้ ปี ก็ได้รับทุนจากกระทรวงธรรมการ ไปศึกษาวิชาช่าง ณ ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา ( อเมริกา) แต่ด้วยเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกา จึงถูกส่งให้ไปศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์ และอยู่ในระหว่างสงครามทำให้สถานที่เรียนของพระช่วงเกษตรศิลปการอยู่ในสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ไม่ถูกหลักอนามัย นักศึกษาล้มเจ็บกันมาก ความทราบถึงหลวงอิงคศรีกสิการซึ่งขณะนั้นศึกษาด้านการเกษตรอยู่ที่ University of the Philoppines at Los Banos ( ปีที่ 2 ) จึงได้ชวนพระช่วงเกษตรศิลปการ ให้ไปศึกษา ณ ที่เดียวกัน จนกระทั่ง พ.ศ. 2463 ซึ่งพระช่วงเกษตรศิลปการกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ และสงครามโลกสงบลง รัฐบาลจึงได้ย้ายนักเรียนไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยท่านได้เข้าศึกษาต่อที่ University of Wisconsin ในสาขาวิชาสัตวบาล จนกระทั่งจบปริญญาตรีและปริญญาโท ใน พ.ศ. 2467 นับเป็นคนไทยคนที่ ที่จบปริญญาโทด้านการเกษตร

หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย และเข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมบางสะพาน ซึ่งทั้งอาจารย์ทุกคนและนักเรียนในสมัยนั้นต้องทำงานอย่างหนัก ต้องช่วยกันพัฒนาสถานที่ ปลูกสร้างอาคารด้วยตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่มีงบประมาณสนับสนุน กล่าวโดยย่อคือ อาจารย์ต้องสอนหนังสือด้วย ทำงานทุกอย่าง เป็นกรรมกรไปด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2468 ได้รับยศเป็นรองอำมาตย์เอก และพ.ศ. 2469 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงช่วงเกษตรศิลปการ ขณะที่มีอายุเพียง 27 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 จึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระช่วงเกษตรศิลปการ

ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2468 - 2475 มีเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ควรบันทึกไว้คือ พ.ศ. 2469 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมได้ย้ายจากอำเภอบางสะพานไปอยู่ที่อำเภอทับกวาง ท่านก็ได้ย้ายตามโรงเรียนไปด้วย และไปเริ่มต้นบุกเบิกใหม่ ทำงานหนัก ทั้งสอนหนังสือและงานภาคสนาม

พ.ศ. 2470 ท่านได้ริเริ่มจัดทำหนังสือพิมพ์กสิกร ฉบับปฐมฤกษ์ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ เมษายน 2470 โดยมี หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ โดยหนังสือเล่มนี้อยู่ยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 75 ปีแล้ว

พ.ศ. 2471 เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการศึกษาของชาติครั้งใหญ่ การศึกษาด้านการเกษตรก็ปรับเปลี่ยนไปมากเช่นกัน ในปีนี้ ท่านได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และปีเดียวกันนี้ ท่านได้สมรสกับคุณสำอางค์ ไรวา สุภาพสตรีในตระกูลคหบดี

อีก ปีต่อมา คือช่วง พ.ศ. 2473 กระทรวงกลาโหมได้ขอตัวท่านไปช่วยราชการ ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกเสบียงสัตว์ และเป็นผู้อำนวยการสอนวิชากสิกรรมแก่นายทหารด้วย

พ.ศ. 2476 กระทรวงเกษตรฯ ได้ขอตัวท่านจากกระทรวงกลาโหมให้มาปฏิบัติงานในกรมตรวจกสิกรรมและได้มีส่วนอย่างมากในการบุกเบิกสร้างสถานีทดลองกสิกรรมที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และในปีเดียวกันนี้เองทางกระทรวงธรรมการโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ขอให้ท่าเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

อีก ปีต่อมา โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมถูกยุบ และได้ตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่แม่โจ้โดยมีท่านเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ได้ตั้งกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นในกรมเกษตรและการประมงด้วย รุ่งขึ้นอีก ปี คือ พ.ศ. 2482 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมเกษตรและการประมงโดยดำรงตำแหน่งนี้อยู่นานถึง 10 ปี

เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่าเริ่มต้นจาก พ.ศ. 2481 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมถูกยุบ และเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม ทำให้บรรดาคณาจารย์ ทั้งหลายที่สอนอยู่ตามโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในที่ต่างๆต้องแยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง (เช่น หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมคอหงษ์ จังหวัดสงขลา พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้ เป็นต้น) บรรดาอาจารย์ที่โอนมาสังกัดกรมเกษตร กระทรวงเกษตราธิการในช่วงเวลานี้ ได้แก่ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ เป็นต้น

ใน พ.ศ. 2482 โดยการริเริ่มของ บูรพาจารย์ คือ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงอิงคศรีกสิการ รวมทั้งบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ อาจารย์กวี วิสุทธารมณ์ เป็นต้น ได้ร่วมกันจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่ทุ่งบางเขน โดยมีฐานะเป็นกองหนึ่งของกรมเกษตร มีอาจารย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นผู้อำนวยการ และอาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ เป็นรองผู้อำนวยการ อีก ปีต่อมา หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมปศุสัตว์และพาหนะ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แทน ในเวลาต่อมากองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( ขึ้นกับกระทรวงเกษตรธาธิการ) ได้รับการยกฐานะเป็นกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะการประมงและคณะสหกรณ์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี มีฐานะเทียบเท่าอธิบดี

พระช่วงเกษตรศิลปการ ได้ชื่อว่าเป็น ใน เสือวงการเกษตรของประเทศไทย และเป็น ใน ของบูรพาจารย์ที่ร่วมกันก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และหลวงอิงคศรีกสิการ จนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรของไทยให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ และเจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน

พระช่วงเกษตรศิลปการ เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2442 ที่บ้านแช่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมชื่อ ช่วง โลจายะ เป็นบุตรของ ร.อ. หลวงศรีพลแผ้ว ร.น. ( ขาว โลจายะ) เริ่มต้นการศึกษาระดับชั้นปฐม ก. กา ที่วัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จนจบชั้นประถมปีที่ จึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์ ( ม.1 - ม. 3 ) หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบจนจบมัธยม ( พ.ศ. 2459) และเมื่อศึกษาจบแล้วได้สมัครเป็นครูสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ

หลังจากเป็นครูได้ ปี ก็ได้รับทุนจากกระทรวงธรรมการ ไปศึกษาวิชาช่าง ณ ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา ( อเมริกา) แต่ด้วยเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกา จึงถูกส่งให้ไปศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์ และอยู่ในระหว่างสงครามทำให้สถานที่เรียนของพระช่วงเกษตรศิลปการอยู่ในสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ไม่ถูกหลักอนามัย นักศึกษาล้มเจ็บกันมาก ความทราบถึงหลวงอิงคศรีกสิการซึ่งขณะนั้นศึกษาด้านการเกษตรอยู่ที่ University of the Philoppines at Los Banos ( ปีที่ 2 ) จึงได้ชวนพระช่วงเกษตรศิลปการ ให้ไปศึกษา ณ ที่เดียวกัน จนกระทั่ง พ.ศ. 2463 ซึ่งพระช่วงเกษตรศิลปการกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ และสงครามโลกสงบลง รัฐบาลจึงได้ย้ายนักเรียนไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยท่านได้เข้าศึกษาต่อที่ University of Wisconsin ในสาขาวิชาสัตวบาล จนกระทั่งจบปริญญาตรีและปริญญาโท ใน พ.ศ. 2467 นับเป็นคนไทยคนที่ ที่จบปริญญาโทด้านการเกษตร

หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย และเข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมบางสะพาน ซึ่งทั้งอาจารย์ทุกคนและนักเรียนในสมัยนั้นต้องทำงานอย่างหนัก ต้องช่วยกันพัฒนาสถานที่ ปลูกสร้างอาคารด้วยตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่มีงบประมาณสนับสนุน กล่าวโดยย่อคือ อาจารย์ต้องสอนหนังสือด้วย ทำงานทุกอย่าง เป็นกรรมกรไปด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2468 ได้รับยศเป็นรองอำมาตย์เอก และพ.ศ. 2469 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงช่วงเกษตรศิลปการ ขณะที่มีอายุเพียง 27 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 จึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระช่วงเกษตรศิลปการ

ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2468 - 2475 มีเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ควรบันทึกไว้คือ พ.ศ. 2469 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมได้ย้ายจากอำเภอบางสะพานไปอยู่ที่อำเภอทับกวาง ท่านก็ได้ย้ายตามโรงเรียนไปด้วย และไปเริ่มต้นบุกเบิกใหม่ ทำงานหนัก ทั้งสอนหนังสือและงานภาคสนาม

พ.ศ. 2470 ท่านได้ริเริ่มจัดทำหนังสือพิมพ์กสิกร ฉบับปฐมฤกษ์ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ เมษายน 2470 โดยมี หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ โดยหนังสือเล่มนี้อยู่ยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 75 ปีแล้ว

พ.ศ. 2471 เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการศึกษาของชาติครั้งใหญ่ การศึกษาด้านการเกษตรก็ปรับเปลี่ยนไปมากเช่นกัน ในปีนี้ ท่านได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และปีเดียวกันนี้ ท่านได้สมรสกับคุณสำอางค์ ไรวา สุภาพสตรีในตระกูลคหบดี

อีก ปีต่อมา คือช่วง พ.ศ. 2473 กระทรวงกลาโหมได้ขอตัวท่านไปช่วยราชการ ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกเสบียงสัตว์ และเป็นผู้อำนวยการสอนวิชากสิกรรมแก่นายทหารด้วย

พ.ศ. 2476 กระทรวงเกษตรฯ ได้ขอตัวท่านจากกระทรวงกลาโหมให้มาปฏิบัติงานในกรมตรวจกสิกรรมและได้มีส่วนอย่างมากในการบุกเบิกสร้างสถานีทดลองกสิกรรมที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และในปีเดียวกันนี้เองทางกระทรวงธรรมการโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ขอให้ท่าเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

อีก ปีต่อมา โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมถูกยุบ และได้ตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่แม่โจ้โดยมีท่านเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ได้ตั้งกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นในกรมเกษตรและการประมงด้วย รุ่งขึ้นอีก ปี คือ พ.ศ. 2482 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมเกษตรและการประมงโดยดำรงตำแหน่งนี้อยู่นานถึง 10 ปี

เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่าเริ่มต้นจาก พ.ศ. 2481 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมถูกยุบ และเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม ทำให้บรรดาคณาจารย์ ทั้งหลายที่สอนอยู่ตามโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในที่ต่างๆต้องแยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง (เช่น หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมคอหงษ์ จังหวัดสงขลา พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้ เป็นต้น) บรรดาอาจารย์ที่โอนมาสังกัดกรมเกษตร กระทรวงเกษตราธิการในช่วงเวลานี้ ได้แก่ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ เป็นต้น

ใน พ.ศ. 2482 โดยการริเริ่มของ บูรพาจารย์ คือ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงอิงคศรีกสิการ รวมทั้งบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ อาจารย์กวี วิสุทธารมณ์ เป็นต้น ได้ร่วมกันจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่ทุ่งบางเขน โดยมีฐานะเป็นกองหนึ่งของกรมเกษตร มีอาจารย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นผู้อำนวยการ และอาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ เป็นรองผู้อำนวยการ อีก ปีต่อมา หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมปศุสัตว์และพาหนะ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แทน ในเวลาต่อมากองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( ขึ้นกับกระทรวงเกษตรธาธิการ) ได้รับการยกฐานะเป็นกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะการประมงและคณะสหกรณ์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี มีฐานะเทียบเท่าอธิบดี